สวัสดีครับ วันนี้มาในหัวข้อที่นิลเห็นเพื่อนร่วมงานนิลคุยกันเรื่องการ Commit ว่าจะทำงานงานนึงซึ่งทำให้นิลอยากจะมาเล่าเกี่ยวกับ Commitment ในมุมที่นิลเข้าใจและรู้สึกว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ จะเป็นยังไงไปดูกันเล้ย!
Commitment คืออะไรนะ?
Commitment หรือว่าคำมั่นสัญญาคือสิ่งที่เราตกลงกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่าจะทำสิ่งนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น “ผมจะโอนเงินให้คุณพรุ่งนี้ตอนเที่ยง” อันนี้ก็เป็น Commitment รูปแบบหนึ่งครับ หรือว่า “เดี๋ยวขอเวลา 5 นาที” อันนี้ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Commitment ครับ หรือแม้แต่บางทีเวลามีคนมาถามว่า “งานชิ้นนี้จะเสร็จทันวันนี้ไหม” แล้วเราตอบว่า “ครับ” เราก็สร้าง Commitment ไปเรียบร้อยแล้ว จากตัวอย่างเนี่ย จะเห็นจากตัวอย่างว่าบางทีเราก็ก่อ Commitment ด้วยความตั้งใจและไม่ตั้งใจไปครับ
ทำไมเราถึงสร้าง Commitment ขึ้นมานะ
ถ้าถามถึงเหตุผลก็คงต้องบอกว่ามันมีได้จากหลายปัจจัยมาก ๆ เลยครับ นิลยกตัวอย่างเช่น บางคนก็อาจจะอยากสุขภาพแข็งแรง เลย Commit กับตัวเองไว้ว่าจะออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที อันนี้ก็เป็นวิธีการสร้าง Commitment ในรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายนั่นเองครับ
ในอีกรูปแบบนึง เราอาจจะใช้ Commit เพื่อสร้างข้อผูกมัดกับตัวเอง แต่ปลายทางแล้วก็คือการบรรลุเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น นิลอาจจะดองคอร์สออนไลน์ไว้คอร์สนึงซึ่งนิลก็ดองมาเป็นปีละ นิลก็ Commit กับตัวเองไว้ว่าจะเรียนให้จบใน 3 อาทิตย์ เพื่อสร้างเงื่อนไขเอาไว้ว่าเราต้องเรียนให้จบใน 3 อาทิตย์นะ อะไรแบบนี้
ถ้าใน Context ของการทำงานแล้ว นิลยกตัวอย่างเช่น มีคนเดินมาขอเวลา 5 นาทีเพื่อคุยงาน ถ้าเราตอบตกลงไป เราก็ Commit ที่จะให้เวลา 5 นาทีนั้นกับเขาไปแล้ว โดยที่เราอาจจะไม่ได้อยากให้เวลากับคนนััน ๆ หรือๆๆ เวลามีคนมาถามเราว่างานจะเสร็จวันนี้ไหมแล้วเราพยักหน้าหรือตกลงไป ก็คือการสร้าง Commitment ไปแล้วว่างานจะเสร็จวันนี้น่ะ
ถ้าเราสร้าง Commitment มากกว่าที่เราจะทำไหว จะเป็นยังไงนะ
เอาล่ะ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นคือสิ่งที่เรียกว่า Overcommitment ครับ ซึ่งพอเรา Commit ว่าจะทำ เราจะมี Expectation ว่าจะทำสิ่งนี้ให้ได้ และถ้าเรารู้สึกว่าเรามีหลาย ๆ อย่างให้ทำมาก ๆ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือภาวะความเครียดภาวะหมดไฟครับ บางคนอาจจะมีความรู้สึกขาด Focus เลยเพราะไม่รู้ว่าจะจัดการกับ Commitment ไหนก่อนดี
การสร้าง Commitment ให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง
นิลขอเรียกสิ่งนี้ว่า Healthy Commitment นะครับ ซึ่งการที่เราจะทำสิ่งนี้ได้ เราต้องเข้าใจว่าเราจะสร้าง Commitment นั้น ๆ ไปทำไมก่อนครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากผอมโดยที่ปกติไม่เคยออกกำลังกายอะไรเลย นิลก็จะแนะนำให้ค่อย ๆ ออกกำลังไปก่อน อาจจะอาทิตย์ละวันสองวัน แล้วพอทำให้เราเริ่มชินกับสิ่งนั้น ๆ แล้ว เราค่อย Commit ที่จะเพิ่มวันออกกำลังกายมาเป็น 3~4 วันต่ออาทิตย์ก็ได้ ที่สำคัญคือ Commitment นั้น ๆ ต้องทำได้จริง ไม่ใช่อยู่ดี ๆ ก็ล่องลอยขึ้นมาแล้วก็บอกว่าจะออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 วันจากที่ไม่เคยออกอะไรมาเลย
อีกตัวอย่างนึงคือเวลาทำงาน ที่นิลเคยยกตัวอย่างไว้ว่าเวลามีคนมาถามว่าขอ 5 นาทีหรือถามว่าวันนี้งานจะเสร็จไหม ก่อนที่เราจะตกปากรับคำออกไป ให้เราคิดซักนิดว่าเราจะสามารถทำสิ่งนั้น ๆ ได้จริง ๆ หรือเปล่า ซึ่งสมมติเป็นกรณีของการมาถามว่าเราจะสามารถทำสิ่งนั้นเสร็จในวันนั้นหรือเปล่า อาจจะต้องลอง Estimate ในหัวก่อนว่างานชิ้นนั้น ๆ สามารถเสร็จจริง ๆ ใช่ไหม ก็จะช่วยลดการ Commit ที่ทำให้เราไม่สามารถทำได้ลง หรือ Commit ที่สร้างงานเพิ่มให้ตัวเองได้ครับ
จบไปแล้วนะครับ จริง ๆ นิลอยากปล่อย Blog ตัว WordPress Basic I แต่ว่านิลอยากปล่อย Basic I พร้อมกับ Basic II เลย ดังนั้นนิลขอเลื่อนไปก่อนนะครับ ทุกคนยังสามารถ Feedback นิลได้ที่เพจได้เลยนะครับ นิลน้อมรับ Feedback อยู่เสมอครับ เจอกันใหม่วีคหน้าครับ
– นิล –