พูดไม่รู้เรื่อง จริงหรือเปล่าน้า (ฉบับ DevDev)

Peeranat Danaidusadeekul

Peeranat Danaidusadeekul

May 18, 2024

สวัสดีครับ วันนี้มาใน Topic ที่นิลรู้สึกว่านิลมีปัญหาเรื่องนี้ครับ คือการพูดไม่รู้เรื่องครับ ตลอดเกือบ ๆ 2 ปีที่นิลทำงานมา นิลรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพูดไม่รู้เรื่องและปัจจุบันก็ยังรู้สึกแบบนั้นอยู่ครับ 55555 นิลเห็น Dev หลาย ๆ คนจะโดน Sterotype ว่าต้องพูดไม่รู้เรื่องเลย วันนี้นิลเลยจะมาพูดหัวข้อนี้ในมุมฝั่ง Dev แล้วกันว่าจริง ๆ แล้ว Dev พูดไม่รู้เรื่องจริงหรือเปล่านะ เอ้ะ ว่าแต่ที่นิลเขียน Intro มาเนี่ย รู้เรื่องกันหรือเปล่านะ ถ้ารู้เรื่องก็ไปลุยกันเลยครับ

ความยากในการคุยของชาว Dev

ในฐานะ Dev ท่านหนึ่งแล้ว นิลจะรู้สึกว่าหลาย ๆ ครั้งนิลจะหลุดพูดคำที่ศัพท์ที่เป็นเชิง Technical ของ Dev หรือ Jargon ของ Dev ออกไป ขอลองยกตัวอย่างดู เช่น API, CI/CD, Container, DDD (คนไม่ใช่สาย Tech งงคำพวกนี้ไหมครับ –‘) ซึ่งมันจะไม่เป็นอะไรเลยถ้าในวงสนทนานั้นทุกคนล้วนเป็น Dev แต่ถ้าในการสนทนานั้นเป็นการคุยระหว่าง Dev กับ Business แล้วนิลพูดศัพท์ Technical ไปล่ะครับ ตู้มมม ถ้า Business เขาไม่มีความรู้ Tech เลยนี่ เขาไม่มีทางรู้เรื่องกับสิ่งที่ Dev พูดเลยนะครับ (และเอาตรง ๆ ก็ไม่อยากคุยกับ Dev ที่คุยแบบนี้ด้วย 5555555)

นอกจากการที่ Dev จะชอบพูด Jargon แล้ว อีกอย่างนึงที่ชาว Dev จะเจอคือการที่เราไม่ได้ Organize เรื่องที่เราจะเล่าให้ดีก่อน บางทีเล่าไปถึงประเด็นนึงซึ่งใกล้จะจบแล้ว ก็อาจจะเพิ่งนึกอะไรที่เป็นข้อมูลที่ต้องเล่าตอนแรก ๆ ออกและพูดแทรกหัวข้อที่ตัวเองกำลังพูดอยู่ ซึ่งพอผนวกความ Disorganize ในการเล่ากับการพูดศัพท์เทคนิคหรือ Jargon รัว ๆ แล้ว คนจะฟังจะไม่ค่อยเข้าใจและเกิดอาการอี๋ชาว Dev ฮะ

อีกปัญหานึงที่เจอมาคือแม้แต่ใน Dev กันเอง ก็อาจจะเกิดปัญหาเมื่อ Dev คุยกันและระดับความรู้หรือ Context ของเรื่องเล่าที่มีในหัวไม่เท่ากัน (ขอเรียกสิ่งนี้ว่า Knowledge Gap ฮะ) เช่น Senior อธิบายของบางอย่างให้น้อง ๆ Junior ฟัง ก็อาจจะเกิดปัญหาที่น้อง ๆ Junior ไม่เข้าใจสิ่งที่ Senior จะสื่อออกมา ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ Senior ที่เป็นคนเล่าคนนั้นอาจจะมองว่ามันง่ายมาก แบบ So easy แต่ด้วย Context ที่ต่างกัน น้อง ๆ ก็ไม่ได้เข้าใจ Project หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้แต่ละฝ่ายต่างไม่เข้าใจกัน

ถ้าคุยไม่รู้เรื่อง จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

เอาล่ะ ในมุมการทำงานเป็นทีม การคุยไม่รู้เรื่องก็ส่งผลกระทบต่อการทำงานโดยตรงเลยล่ะ เพราะถ้าคุยไม่รู้เรื่อง กว่าจะเข้าใจ Brief งาน หรือกว่าจะอธิบายงานให้คนอื่นเข้าใจก็อาจจะต้องเสียเวลาไปมากแล้วครับ ซึ่งจะกระทบต่อการเติบโตในสายงานอีก เพราะการที่ถ้าสมมติวันนึงเราจะเติบโตเป็น Senior หรือระดับ Leadership ได้ Skill การสื่อสารเราก็ต้องดีเหมือนกัน นอกจากนี้ถ้าเราต้องทำงานตรงกับลูกค้าและเราพูดไม่รู้เรื่อง มันก็จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเรา ทำให้ลูกค้าไม่เชื่อถือบ้างหรืออาจจะทำให้ลูกค้าไม่พอใจก็ได้ครับ

ในฐานะ Dev คนนึง เราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง

สิ่งแรกที่เราสามารถทำได้คือการลดคำศัพท์ Technical ที่ไม่จำเป็นลงและใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายมากขึ้น ก่อนหน้านี้นิลมีเขียน Blog เรื่อง WordPress ที่เป็น Basic ไป (ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้ปล่อย) แล้วนิลก็เขียนอธิบาย Pages ว่า

Page ใช้สำหรับข้อมูลที่ Static หรืออยู่ยงคงกระพัน

ซึ่งนิลก็เขียนมาด้วยความที่แบบ Static ก็ Static Page ไง ศัพท์ง่าย ๆ แล้วนิลก็ส่งเพื่อนนิลที่ไม่ใช่สาย Tech อ่าน Preview ก่อน เพื่อนก็ทักมาถามนิลว่า “สรุปว่าข้อมูล Static หรืออยู่คงกระพันคือไรวะ มันฆ่าไม่ตายหรอ5555” นิลแบบ เออ กลับไปนั่งคิดกับตัวเองเลยว่าถ้าไม่ได้อยู่สาย Tech แล้ว คำนี้ก็แอบยากเหมือนกันแฮะ สุดท้ายนิลก็พยายามเค้นความคิดของนิลออกมาเพื่อจะอธิบาย Pages ใหม่แบบนี้ครับ

Page จะใช้สร้างเนื้อหาในเว็บไซต์ที่ข้อมูลไม่ค่อยเปลี่ยน หรือบางอันก็อยู่ยงคงกระพันเลย ยกตัวอย่าง เช่น หน้าแรก หน้าเกี่ยวกับเรา หน้าติดต่อเรา ซึ่งเราก็จะไม่ได้แก้ไขหน้าพวกนี้บ่อย

ซึ่งพอนิลปรับข้อความเป็นแบบนี้เพื่อนนิลก็เข้าใจมากขึ้นถึง Page ใน WordPress ขึ้นครับ จะเห็นได้ว่าแค่เราลด Jargon และเพิ่มคำอธิบายที่ทำให้เห็นภาพมากขึ้นเข้าไป เราก็จะสามารถสื่อสารให้คนอื่น ๆ เข้าใจได้

นอกจากนี้อีกอย่างที่สามารถทำได้คือการ Organize/Structure ความคิดก่อนที่จะพูดหรือจะเล่าออกไป ถ้าเอาแบบง่ายสุด ๆ ก็คือการเล่า Overview ก่อนแล้วเราค่อยเจาะลงไปในประเด็น คนที่ฟังเราจะได้เห็นภาพรวมเรื่องราวทั้งหมดและสามารถตามในแต่ละรายละเอียดที่เล่าออกไปได้

อีกสิ่งนึงที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือการดูก่อนว่า ผู้ฟังคือใคร ซึ่งเมื่อเรารู้ว่าคนฟังของเราคือใคร เขามีความเข้าใจ Tech ประมาณไหน เราก็จะสามารถสื่อสารออกไปในภาษาที่เขาน่าจะเข้าใจได้ ยกตัวอย่างว่า นิลที่เป็น Dev กำลังคุยกับเพื่อน ๆ หรือพี่ ๆ Dev ที่ทำงานมาซักพักนึงแล้ว นิลก็อาจจะสามารถซัดศัพท์เทคนิคแบบเบิ้ม ๆ ได้ แต่ถ้านิลกำลังคุยกับพี่ ๆ Business หรือ Marketing แล้วนิลไปซัดศัพท์เทคนิคใส่ล่ะครับ ไม่รู้เรื่องแน่นอนเลย

Tips นึงที่นิลชอบใช้เวลาที่จะคุยกับใครก็คือเรารู้ก่อนว่าเขาเป็นใครและก่อนที่นิลจะอธิบายไป นิลจะถามคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ๆ ก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าเขารู้เรื่องอะไรบ้างและใช้คำศัพท์ในระดับที่เขารู้ เช่น ถ้านิลต้องอธิบายเรื่องระบบขายของที่ทำด้วยระบบอื่น ๆ มา ซึ่งในระบบก็จะมีสินค้าและหมวดหมู่ของสินค้าให้กับเพื่อนของนิลที่นิลรู้ว่าเขาเคยใช้ WordPress มาก่อน นิลก็จะถามว่าจำเรื่อง Posts กับ Categories ของ WordPress ได้ไหม ซึ่งให้มองสินค้าเป็น Posts ของ WordPress และหมวดหมู่ของสินค้าคือ Categories เลย แค่นี้ก็สามารถทำให้เพื่อนนิลเข้าใจในเรื่องระบบซื้อขายของอันใหม่ในเวลาอันรวดเร็วได้แล้วครับ


จบไปแล้วกับ Blog ที่เล่าเรื่องของการพูดไม่รู้เรื่องผ่านเลนส์ของ Dev ท่านหนึ่งนะครับ นิลคิดว่านิลอาจจะทำ Blog อะไรแบบนี้ออกมาอีกแหละ เพราะนิลคิดว่ามีหลาย ๆ อย่างที่คนทั่ว ๆ ไปไม่เข้าใจชาว Dev และนิลก็อยากจะหยิบยกเรื่องราวเหล่านั้นมาเล่าให้ทุก ๆ คนฟังแหละ เย้ ๆ นิลแวะมาขายของนิดนึง (ที่เขาไม่ได้จ่าย) ช่วงนี้ Google Cloud เขาจัด Self-Study Program อยู่ชื่อว่า ChaiyoGCP ฮะ ปีนี้เป็นเกี่ยวกับ AI/ML ใครอยาก Upskill เกี่ยวกับ AI/ML หรือ Cybersecurity สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่เลยฮะ ที่เขียนมาคือถ้านิลเขียน Blog ไม่ทันนิลจะบอกว่าไปเรียน ChaiyoGCP แหละทุกคน 55555555 วันนี้ลาไปก่อนครัช

ขอให้สนุกกับการสื่อสารกับผู้คน (ในยุคที่ต้องสื่อสารกับ AI 5555)

– นิล –

Share: