สวัสดีครับ เอาตรง ๆ คำว่าไม่มีเราเนี่ย มันสื่อออกมาได้ 2 ทางนะครับ คือ ไม่มีเราเพราะว่าลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน หรือไม่มีเราเพราะลาออกจากบริษัทไปครับ วันนี้นิลอาจจะเล่าหลัก ๆ ในทางแรกเพราะยังไม่เคยลาออกน่ะครับ สิ่งที่นิลเล่าเป็นมุมมองของ Junior Software Engineer คนนึงที่เพิ่งทำงานกำลังจะครบ 2 ปีนะครับ จะเป็นยังไงไปดูกันครับ
เมื่อบริษัทไม่มีเราแบบ ลาป่วย ลาพักผ่อน
เอาล่ะ อันนี้ก็แน่นอน เมื่อวันที่เราป่วย วันที่เราอยากจะลาพักมันก็มีอยู่แล้วแหละครับ แต่บางทีเราจะรู้สึกว่าเรามีบ่วงแบบ ถ้าชั้นลาไปแล้ว เพื่อนร่วมงานชั้นจะเป็นยังไงนะ งานจะดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นหรือเปล่าน้า ในมุมนิลแล้วเมื่อก่อนนิลก็มีคิดแบบนี้บ้างครับ แบบชั้นเป็น Dev คนเดียวใน Project ถ้าชั้นลาทีมจะชิบหายกันไหมนะ ถ้าชั้นลาแล้วจะกระทบ Timeline ของ Project หรือเปล่านะ คิดแบบนั้นเสร็จแล้วก็ก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไปครับ สุดท้ายงานเสร็จ แต่ร่างกายนิลก็พังมากเช่นกันครับ ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเราสื่อสารกับทีมว่าเราจะลาวันไหนบ้าง ตอนนี้งานในมือเรามีอะไรอยู่บ้างและเราทำค้างไว้ที่ Step ไหน สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการลามีได้หลายทางมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่ง Task ที่เรากำลังทำอยู่ให้กับคนอื่น ๆ ในบริษัทที่มี Skillset ใกล้เคียงกับเรา หรือแม้แต่การจ้าง Outsource เพื่อรับผิดชอบงานในส่วนนั้นเพื่อให้ส่งมอบงานให้ทัน Timeline ครับ เมื่อเรากลับมาก็แค่กลับมารับงานต่อจากส่วนที่มีคนมาทำต่อไว้ แค่นั้นเลยครับ
อันนี้นิลไม่ได้บอกให้ทุกคนแบบทิ้งความรับผิดชอบในหน้าที่นะครับ แบบขี้เกียจจังเลยน้า พรุ่งนี้ลาดีกว่าแล้วก็ Yolo ใส่ทีม แบบนี้ไม่เอานะครับ นิลแค่อยากให้ทุกคนสื่อสารเรื่องความเหนื่อย ความอยากพักผ่อน และอาการป่วยของตัวเองออกมาให้ภายในทีมรู้ หรืออาจจะ Reflect กับ Manager ตอน One-on-One เพื่อว่าถ้าสมมติเราอยากจะพักผ่อนจริง ๆ ทีมจะได้ช่วยกันหาทางออกเพื่อจะให้เราได้พักอย่างเต็มที่ครับ ซึ่งในทางปฏิบัติจริงเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อย ๆ ทีมก็อาจจะต้องเริ่มคิดมาตรการต่าง ๆ สมมติเช่นว่าตอนแรก Project มี Dev คนเดียวและ Dev คนนั้นเริ่มรู้สึกเหนื่อยกับการทำงานและอยากพักหลาย ๆ ครั้ง หรืองานโถมที่ Dev คนนี้มากจนเขาป่วยบ่อยมาก ทีมก็อาจจะต้องหา Dev มาเพิ่มเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ Dev คนนั้นและลดความเสี่ยงในการส่งมอบงานไม่ทัน Timeline หรืออาจจะมีการวางตัวสำรองแบบคร่าว ๆ ไว้ เช่น ถ้าคนนี้ลา คนนั้นจะสามารถมาทำแทนได้ เพื่อให้สุดท้ายแล้ว ทีมก็ยังสามารถ Deliver งานออกไปได้ แม้เราจะไม่อยู่ครับ
นิลลองยกตัวอย่าง เคสนิลอันนึง ช่วงต้นปีนิลติดโควิดไปครับ ซึ่งเป็นช่วงที่ทีมกำลังต้องไป Train ลูกค้าและจริง ๆ นิลต้องเป็นคนไปสอน แต่พอนิลติดโควิดและมีไข้ ไอ และอาการมึนหัวมาก พอแจ้งทีมไป ทีมก็เริ่มคิดว่าจะทำยังไงดี ซึ่งก็ยังโชคดีที่ในทีมมีน้อง Dev อีกหนึ่งคนที่รู้ Context ของ Project ค่อนข้างเยอะครับ สุดท้ายนิลแค่ลุกจากเตียงมาเล่าว่านิลทำ Slide ในส่วนไหนไปแล้วบ้าง และอยากเน้นย้ำส่วนไหน พอนิลเล่าเสร็จนิลก็โดดขึ้นเตียงนอนเพื่อพักละฮะะ ส่วนทีมที่เหลือก็ต้องรีบเตรียม Training กันต่อแหละ สิ่งที่นิลจะสื่อคือบางทีพอเราป่วยในจังหวะที่ชิบหายแบบนี้ อาจจะมีคนเลือกที่จะไม่สื่อสารอาการป่วยออกไปและฝืนมาทำงานต่อครับ สุดท้ายเราก็ทำงานไม่เต็มที่ ทีม Productivity ก็ตก บางทีเราป่วยและต้องการพักช่วงที่ทีมรีบตามงาน เราก็ไม่ตื่นมาตอบเขาอีก สู้ลาไปเลยแล้วส่งต่องานให้คนที่ยังอยู่ดีกว่า นิลว่ามันอาจจะตอบโจทย์ในมุมการทำงานเป็นทีมมากกว่านะครับ
เมื่อบริษัทไม่มีเรา แบบเราลาออกไป
ถ้าเราไม่อยู่แล้ว อย่างที่นิลจั่วหัวไปครับ บริษัทก็อยู่ได้ แต่มีอะไรบ้างที่บริษัทจะเสียไป นิลว่าอันนี้อาจจะน่าสนใจกว่าครับ นิลคิดว่าแน่ ๆ แหละ ถ้าสมมติคน ๆ นึงหายไปและเขารับ Workload เยอะ วันนึงที่เขาลาออกไป ก็ต้องมานั่งบริหารจัดการ Workload ให้คนในทีมใหม่อีก กับถ้าคนนั้น ๆ ถือ Domain Knowledge อะไรบางอย่างอยู่และเขาออกโดยที่ไม่ได้ทำ Documentation เอาไว้ บริษัทก็จะเสีย Domain Knowledge บางอย่างที่ไม่ได้แชร์ไปครับ และที่คิดได้อีกอันคือเรื่องของค่ารับคนใหม่เข้ามาแทนกับค่า Training เพราะกว่าที่เราจะหาคนที่ Skillset ใกล้เคียงคนที่ออกไป หรือ Train ให้มี Skillset ที่ใกล้เคียงกัน อาจจะต้องใช้เงินและเวลาเยอะมาก ซึ่งนิลคิดว่าเนี่ยแหละคือสิ่งที่บริษัทเสียไป
ในอีกมุมนึงนิลมองว่าก่อนที่เราจะลาออกไป เราควรจะทำ Documents, Knowledge Sharing หรือถ้าเราตำแหน่งใหญ่หน่อยก็ควรจะวาง Successor หรือผู้สืบทอดไว้มาแทนเรา เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินการต่อไปได้ครับ ถ้าเราบอกว่าเราจะลาออกไปแล้วบริษัทมาบอกว่า ถ้าเราออกไปแล้ว บริษัทนั้นจะล่มจมเลย ในมุมนิลรู้สึกว่าคำพูดนี้เป็นแค่เหมือนการรั้งกันไว้เฉย ๆ นะครับ ลองคิดภาพตามว่า ถ้าออกปุ๊ป องค์กรล่มปั๊ป องค์กรนี้บอบบางยิ่งกว่ากระดาษ A4 อีกนะครับ 55555
จบไปแล้วนะครับกับ Blog สุดดราม่า Blog นี้นิลมีตัวช่วยนิลคิดหัวข้อคือเจ้า Perplexity แหละ ปกติแล้วนิลจะใช้ ChatGPT เป็นเพื่อนที่เหมือนช่วยตรวจ Bullet Point ที่นิลเล่าครับ แต่วันนี้นิลลองอีกแบบนึง คือลองให้มันสร้าง Bullet Point ต่าง ๆ จากหัวข้อของ Blog ที่นิลใส่ไป และให้ Context มันไปเพิ่มนิดหน่อย ละนิลลองแบบไม่คิดอะไรเพิ่มและเล่าจาก Bullet Point ที่มัน Gen มา ส่วนตัววันนี้นิลคิดว่ามันทำได้ดีนะ แล้วก็ใช่ครับ รูปปกที่เป็น Style ไปเพราะตอนนี้นิล Cancel Subscription ChatGPT แล้ว แงงๆๆ หลัง ๆ นิลใช้แค่ Gen รูปกับตรวจบทความอะ เลยรู้สึกว่าไม่คุ้มแล้ว กับอยากหา Gen AI ตัวอื่นด้วย หวยก็เลยไปตกที่ Perplexity ที่มี Code ลดละเดือนแรกเหลือ 10 ดอลฮะ แหะ ๆ แต่ยังแอบไม่ชอบ Style รูปเท่าไหร่เลย ช่วงแรก ๆ อาจจะต้อง Tune การใช้งานกันไปก่อนแหละ แล้วก็ตัว Blog ยังสามารถ Feedback กันเข้ามาได้ที่เพจเหมือนเดิมนะครับ เปิดรับ Feedback เสมอครับ
– นิล –