EventStorming ภาษากลางแห่งโลก Software

Peeranat Danaidusadeekul

Peeranat Danaidusadeekul

August 11, 2024
EventStorming ภาษากลางแห่งโลก Software

วันนี้นิลมาใน Topic ที่นิลกลับมานั่งดู Session ต่าง ๆ อีกรอบ นั่นคือการทำ EventStorming ครับ ต้องเท้าความก่อนว่านิลได้ฟังพี่รูฟพูดถึงสิ่งนี้ที่ Session Ubiquitous Language ที่ UXTH Conference 2024 มาครับ และนิลก็รู้สึกว้าวมากและนิลก็ได้ฟังพี่รูฟพูดอีกครั้งจาก DevDay ของพี่ Siam Chamnankrit บน YouTube (ฟังพี่รูฟแบบดับเบิ้ลเลย) วันนี้นิลเลยอยากเอามาเล่าในมุมที่นิลเข้าใจดูครับ มาลุยกัน

ปัญหาของโลกการพัฒนา Software ปัจจุบันคืออะไร

ในปัจจุบัน เวลาเรารับงาน Software มาอันนึง Product Manager ไปรับ Requirement จากลูกค้ามาก็จะแปลงเป็นภาษาของตัวเองเพื่อส่งต่อให้ Designer และ Designer ก็จะ Design สิ่งนี้ตามภาษาของตัวเองและส่งต่อไฟล์ Design ให้กับ Software Engineer (Dev) สุดท้าย Dev ก็จะแปล Design เป็นภาษาของตัวเองและออกแบบระบบรวมถึงเขียนโค้ดด้วยชื่อฟังก์ชันหรือตัวแปรที่ Dev ตั้งกันเอง

ซึ่งหมายความว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมันคือการที่แต่ละคนมีภาษาของตัวเองและต้องแปลภาษาของคนอื่นเป็นภาษาตัวเอง สมมติเวลา Dev คนเก่าลาออกไปแล้ว Dev คนใหม่มาดู มันก็อาจจะเกิดการสับสนในภาษาเพราะว่าภาษาที่ PM ใช้ ≠ ภาษาที่ Designer ใช้ และ ≠ ภาษาที่ Dev ใช้ หรือที่เราเรียกว่า Language Mismatch เวลา Dev คนใหม่ย้อนกลับไปดูไฟล์ Design เขาก็อาจจะงงเพราะว่าเขาหาไม่เจอว่า Feature ที่ชื่อนี้ใน Code มันคือ Flow ไหนในไฟล์ Design ส่งผลให้ยิ่งนานวันเข้าความสามารถในการ Maintain สิ่งนี้จะต่ำลงเรื่อย ๆ เพราะภาษาของแต่ละคนไม่ตรงกัน

นอกจากนี้ โดยทั่วไป แต่ละตำแหน่งก็จะเป็น Domain Expert (คนที่มีความเข้าใจเชิงธุรกิจเชิงลึก) ในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งพอแต่ละคนทำงานแยกกันเนี่ย ก็จะพบกับซวยเมื่อแต่ละคนก็จะ Concern แค่ในงานส่วนของตัวเองโดยที่ไม่ได้คุยกับฝ่ายอื่น ๆ ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้สุดท้ายเมื่อทำ Software ไปกลางทางก็อาจจะต้องรื้อเพราะแต่ละ Domain มีของที่ซ่อนอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง

EventStorming คืออะไร

EventStorming เป็น Workshop ที่เอา Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับระบบมาร่วมระดมความคิดกันเพื่อ Explore Business Domain โดยการนำ Post-it สีต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันให้เห็นภาพรวมของการทำงาน ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพรวมของระบบและเข้าใจตัวระบบมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับแต่ละ Domain รวมทั้งสามารถตั้งคำถามกับการทำงานในระบบเพื่อช่วยกันชี้จุดที่ยังคลุมเครือได้อีกด้วย ซึ่ง EventStorming สามารถนำมาใช้ได้ในหลาย ๆ สถานการณ์ เช่น

  1. การ Improve องค์กร: การทำ EventStorming จะทำให้เห็นถึง Flow ต่าง ๆ ของ Business และได้เห็นความคิดของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร ทำให้เราสามารถเห็นภาพรวมและ Next Step ที่เราจะพัฒนาองค์กรไปได้
  2. การแสดงให้เห็นถึง Ecosystem ขององค์กร: การทำ EventStorming จะทำให้ Stakeholder ทุกคนเข้าใจว่าเรามีทรัพยากรอะไรบ้างและเรากำลังจะสร้างอะไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนไปในทิศทางเดียวกัน
  3. การคิด Service ใหม่ ๆ: การทำ EventStorming จะสร้างความร่วมมือกันในทีมและทำให้แต่ละคนสามารถเสนอไอเดียและมาเข้าใจหลักการทำงานของ Service ใหม่ ๆ และมาเข้าใจว่าเราจะ Deliver Value ได้อย่างไร
  4. การออกแบบ Software ที่ซับซ้อน: การทำ EventStorming จะทำให้เห็นความต้องการของแต่ละ Stakeholder และสามารถออกแบบ Software ด้วยหลักการ Domain Driven Design (DDD) ได้

ซึ่งวันนี้นิลจะขอ Focus ที่การทำ EventStorming สำหรับการออกแบบ Software นะครับ

สีของ Post-it ที่ใช้ทำ EventStorming

Post-it สีส้ม (Event)

เราจะใช้ Post-it สีส้มในการเขียน Event หลัก ๆ ของ Domain นั้น ๆ โดยเราจะต้องเขียนเป็น Past Tense เพื่อระบุว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้ว

Post-it สีฟ้า/น้ำเงิน (Command)

เราจะใช้ Post-it สีนี้เพื่อระบุถึง Command หรือ Action ของ User ที่ทำให้เกิด Event นี้ขึ้นมา

Post-it สีเหลือง (External System)

เราจะใช้ Post-it สีนี้เพื่อระบุจุดที่เชื่อมต่อ Service ภายนอก

Post-it สีชมพู (Question)

เราจะใช้ Post-it สีนี้เพื่อตั้งคำถามที่จุดต่าง ๆ ที่เราสงสัย

Post-it สีม่วง (User)

เราจะใช้ Post-it สีนี้เพื่อบอกว่าผู้ใช้งานใน Flow นั้น ๆ คือใคร

อันนี้เป็นตัวอย่างของชุด Post-it ที่ใช้นะครับ

ตัวอย่างชุดสีของ Post-it และความหมายของแต่ละสี
📝 Note
สีส้มกับสีฟ้าเป็นสีที่ใน EventStorming ทุกคนใช้กัน แต่สีอื่นก็แล้วแต่กำหนดกันเลยฮะ

ข้อตกลงก่อนทำ EventStorming

อันนี้ก็จะเป็นข้อตกลงของแต่ละที่ที่ทำอีกแหละ แต่คร่าว ๆ ใน Context ทั่วไปน่าจะประมาณนี้ครับ

  1. ทุกคนต้องให้ความร่วมมือ เนื่องจากเป็น Collaborative Workshop
  2. ทุก Path ต้องจบด้วย Event หมายความวว่า User จะ Command อะไรมาก็ตาม สุดท้าย Path นั้น ๆ ควรจบด้วย Event
  3. Event ต้องเขียนเป็น Past Tense
  4. ถ้าเขียนภาษาอังกฤษไม่ได้ ไม่เป็นไร ให้เขียนภาษาไทยไว้ก่อนและค่อยหา Facilitator มาแปลเป็นอังกฤษให้
  5. ถ้าระหว่างทำ EventStorming รู้สึกสงสัยหรือคาใจที่จุดไหน ให้แปะคำถามหรือข้อสงสัยที่ Post-it สีชมพู (Post-it คำถาม) ทันที อย่าเก็บความสงสัยไว้

ขั้นตอนของ EventStorming

  1. Facilitator เล่าภาพรวมของระบบให้ฟัง
  2. ผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ ช่วยกัน List Event ทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ และนำมาเรียงกันด้วย Timeline โดย Event ที่เขียนบน Post-it จะเป็นศัพท์ที่ทีมตกลงร่วมกันว่าจะใช้คำนี้
  3. เติมข้อมูลของ Command, User, และ External System ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าไป และแน่นอนว่าชื่อ Command, User, และ External System ที่มีการใช้ในนี้ก็ต้องผ่านการตกลงร่วมกับทีมอีก
  4. ถ้ามีจุดไหนที่สงสัยหรือคาใจ ติด Post-it คำถามทิ้งไว้
  5. เมื่อทำเสร็จแล้วก็จะมา Review กันและเช็คความเข้าใจร่วมกันอีกทีนึง
ตัวอย่างการทำ EventStorming ของระบบส่งไฟล์การบ้าน

การทำ EventStorming เป็นสิ่งที่เราสามารถ Iterate ไปเรื่อย ๆ ได้เพื่อทำให้ภาพมันชัดมากขึ้น สุดท้ายก็ขึ้นกับการ Weight ระหว่างความชัดเจนกับเวลาที่ต้องเสียไปในการทำ EventStorming ว่าคุ้มค่าหรือเปล่า

เราจะ Benefit อะไรจากการทำ EventStorming

แน่นอน อย่างแรกเลยคือเราจะเข้าใจภาพรวมและการทำงานของระบบมากขึ้น รู้ว่า User เป็นใคร มาใช้งานระบบเราในจุดไหน ระบบเราเชื่อมต่อกับอะไร ซึ่งจะทำให้ทีมมีความเข้าใจร่วมกันและทำให้ทีมไปใน Direction เดียวกัน ถ้าในฝั่ง Technical แล้ว การที่เรามาตกลงชื่อ Event, Command, และ Users ร่วมกัน นั่นคือการที่ฝั่ง Business, PM, Designer, และ Dev จะใช้ชื่อเดียวกันในการสื่อถึงสิ่งหนึ่ง ๆ ก็จะทำให้ทีมสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจมากขึ้น

เมื่อการสื่อสารสามารถ Sync กันได้แล้ว แน่นอนว่าเราจะสามารถ Maintain Software ได้ง่ายขึ้นเพราะว่าของที่เขียนใน Requirement, ชื่อ Flow ใน Design, และชื่อตัวแปรกับฟังก์ชันใน Code ก็จะเหมือนกันหมด ทำให้ถ้าเราต้องการแก้อะไรในฝั่ง Business ฝั่ง Code ก็จะสามารถหาได้อย่างง่ายดาย

Next Step เราจะศึกษาอะไรต่อดี

นอกจาก Event Storming แล้ว ยังมี Tools อื่น ๆ เพื่อช่วยเราในเรื่องต่าง ๆ ได้

Domain Storytelling – เป็น Tools ที่ใช้ในการ Capture Requirement ในระดับที่สูงขึ้นมาจาก EventStorming อีก ทำให้เราสามารถเห็นภาพกว้างขึ้นมาได้อีกระดับ

User Story Mapping – เป็น Tools ที่ใช้ในการคุยกันของทีมโดยคำนึงถึงการใช้งานของ User เพื่อให้สามารถแตก Task ย่อยและตัดตอนส่วนที่ไม่จำเป็น จนสามารถพัฒนา Product ในระยะเวลาที่กำหนดได้

สรุป

  • EventStorming เป็นแค่ Tools เฉย ๆ ไม่ได้แก้ได้ทุกปัญหา
  • แต่ถ้าทีมกำลังมีปัญหาเรื่องการสื่อสารและการ Maintain Software สิ่งนี้อาจจะช่วยได้
  • EventStorming เปรียบเสมือนภาษากลาง (Ubiquitous Language) ในการพัฒนา Software ทำให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าใจกัน และเพิ่ม Maintainablilty ให้กับ Software

ภาษาไม่ควรถูก Limit ที่ทีมฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แต่ควรใช้ภาษาเดียวกันสื่อสารทั้งหมดเพื่อ Improve Maintainability และคุยกันรู้เรื่องมากขึ้น


เย้ ๆๆ จบไปแล้วกับ Blog ที่นิลเล่าเกี่ยวกับ EventStorming ฮะ จริง ๆ ที่เพิ่งย้อนกลับมาดูคลิปอีกรอบเพราะว่าเดี๋ยวนิลต้องไปเข้า Workshop กับที่ออฟฟิศอะ 5555555 นิลเลยมานั่งย้อนดูฮะ และก็อยากลองเอามาเล่าในความเข้าใจของนิลฮะ

แอบขายของนิดนึง (แต่เขาไม่ได้จ่ายนะ) ตอนนี้ UXTH ร่วมกับ Skooldio กลับมาเปิดขาย Online Rerun ของงาน UXTH Conference 2024 ที่ผ่านมาด้วยแหละ มี Session ที่น่าฟังเพียบบบ ยังไงใครสนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่ลิงก์นี้ได้เลยครับ และก็สามารถไปดู Session DevDay ที่พี่รูฟพูดที่ช่องพี่ Siam Chamnankit ได้ที่ลิงก์นี้ครับ

ขอให้สนุกกับการสร้างภาษากลางในการทำงาน

– นิล –

Share: