สรุป UXTH Meetup: UX & Biometrics

Peeranat Danaidusadeekul

Peeranat Danaidusadeekul

August 24, 2024
สรุป UXTH Meetup: UX & Biometrics

สวัสดีครับ วันนี้นิลได้มีโอกาสไปงาน UXTH Meetup ในหัวข้อ UX & Biometrics มาครับ ช่วงนี้นิลกำลังสนใจด้าน UX อยู่และเห็น Topic นี้ค่อนข้างฉีกจากหัวข้อ Traditional UX ไปพอสมควรเลย นิลเลยลองไปดูฮะ ซึ่งนิลมาเลทไปครึ่งชั่วโมงแหละ แหะ ๆ ช่วงแรก ๆ มันหายไปนิสนึง ขอโทษด้วยฮะ ตอนที่นิลมาก็เป็น Session ของพี่เปี๊ยก UX Research ที่ SCG ซะแล้ว ซึ่งจะเป็นยังไงเดี๋ยวไปดูกันเลยครับ

ปกติแล้วในเชิง UX ปกติตาม Industry Standard เราจะสร้างของกันด้วยหลัก Lean UX ซึ่งก็คือ Build/Measure/Learn แต่กับที่ SCG แล้วจะเปลี่ยนเป็นแบบ Academic ซึ่งจะใช้เป็นหลัก No Measure/No Build ต้องมีการวัดค่าก่อน ถึงจะสร้างของออกมา ซึ่งปัจจัยที่ใช้วัดกันก็จะเป็น Satisfraction (ความพึงพอใจขอผู้ใช้งาน) Effectiveness (สร้างไปแล้วคนซื้อหรือไม่ซื้อ) Efficiency (User สามารถทำ Task ได้โดยที่ Cognitive Load น้อย ๆ ไหม) ซึ่งจากการวัดของเหล่านี้ เราจะทราบถึง Cognition (การรับรู้) Behavior (พฤติกรรม) และ Emotion (ความรู้สึก) ของผู้ใช้งาน ซึ่งตัว Behavior กับ Emotion จะทำให้เรารับรู้ Why ของ User ได้

เคสตัวอย่างแรกของการเอา Biometrics เข้ามาช่วยคือการออกแบบ Logo มา 6 อันและใช้ Software มาช่วย Analyze ว่า จาก Logo ทั้งหมดสามารถดึงดูดสายตาของผู้ใช้งานได้มากที่สุดเพื่อนำมาช่วยทีมตัดสินใจ นอกเหนือจากความชอบของปัจเจกบุุคคล

เคสที่ 2 ก็จะเป็นการให้ User ลองทำ Task โดยที่เราเปิด Webcam และ Software ที่ใช้ในการตรวจจับการมองว่าแต่ละขั้นตอนของการ Test นั้น User มองไปที่จุดไหนบ้าง

เคสที่ 3 จะเป็นการเอาแว่นตาที่ออกแบบมาสำหรับการทำ Eye Tracking มาใช้ร่วมกับเครื่องวัด EEG หรือเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง เพื่อมาดูว่าตาของ User ดูข้อมูลที่จุดไหนและ User มี Cognitive Load ในจุดไหนไหม เพื่อนำไปปรับปรุง UX ของ Product ซึ่งสมมติเราออกแบบมาให้แอปใช้งานง่าย ถ้า User จ้องจุดไหนเกิน 200 milliseconds และมี Cognitive Load สูงก็จะเข้าไปถาม User เพิ่มในจุดนั้น ๆ

เคสที่ 4 คือการใช้ Web App ที่เป็น Machine Learning ในการจับการแสดงออกทางสีหน้า (Facial Expression) ดูว่าในช่วงที่ใช้งาน อารมณ์ของ User เป็นอย่างไร ซึ่งในการทำ Test ก็จะมีการส่ง Test ไป 2 ชุด ชุดแรกเป็นชุดที่ทำให้ User นิ่ง ๆ เพื่อเป็น Baseline สำหรับการดูว่า User คนนี้ Express อารมณ์อย่างไร

Tips
พี่เปี๊ยกบอกว่ามีงานวิจัยที่ว่าคนจากตะวันตกจะแสดง Facial Expression ได้ดีกว่าคนเอเชียด้วยครับ

พี่เปี๊ยกบอกว่าในการทำ Business Ideas Experiment เนี่ย มี Methodology มากมายเลย และมีการ Experiments อยู่ 2 แบบนั่นคือ Discovery Experiments ซึ่งเป็น Experiment ที่ใช้ในช่วงแรก ๆ ของ Process ทั้งหมด เพื่อใช้ตอบคำถามปลายเปิดครับ เช่นการทำ Card Storing, Paper Prototype หรือ การทำ User Interview กับอีกแบบนั่นคือการทำ Validation Experiments ซึ่งเป็นการทำ Experiment เพื่อตอบคำถามปลายปิดบางอย่าง เช่น ถ้าเปลี่ยนปุ่มเป็นสีฟ้าแล้ว User จะ Click เพิ่มขึ้น 10% ใช่ไหม (A/B Testing) หรือการทำ Clickable Prototype ให้ User ลองเล่น เพื่อ Validate ว่าสิ่งที่เราสัมภาษณ์ User และออกแบบตามสิ่งที่เราสัมภาษณ์มาแล้ว User มีประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นไหม ซึ่งการใช้ Biometrics นั้นสามารถนำมาใช้ได้ทั้ง 2 Experiments เลย ขึ้นกับว่าจะใช้ในเป้าหมายไหน

หลังจากจบงานก็ได้มีโอกาสคุยกับพี่เปี๊ยกเพิ่มเรื่องของ Biometrics และ Business ครับ เพราะนิลแอบสนใจเรื่องนี้อยู่ พี่เปี๊ยกก็บอกว่าจริง ๆ ชาว Engineer เนี่ยจะมีความอยากสร้างของขึ้นมา แบบ อยากเอาโค้ดขึ้น Git ว่ะ แบบเท่ ๆ แต่ไม่สามารถตอบว่าสร้างของมาทำไมได้ 55555555

นอกจากนี้ทาง Business จะมีการทำ Business Model Canvas มาเป็นตัวช่วยและทำให้เราสามารถระบุความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นในเชิง User, Business, และ Technical Feasibility ซึ่งความเสี่ยงส่วนที่จะรีบไป Validate ก่อนคือความเสี่ยงฝั่ง Business และ User ก่อน เพราะถ้าเรายังลดความเสี่ยง 2 เรื่องนี้ไม่ได้ก็ไม่ต้องไป Implement ต่อหรอก ตามหลัก No Measure/No Build

จากการ List ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พี่เปี๊ยกและทีมก็จะไป Measure เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสร้างของมาและไม่มีคนใช้ หรือสร้างของมาแล้ว User ใช้ไม่เป็นให้มากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าฝั่ง Management เคาะมาว่าเราจะสร้างสิ่งนี้แบบที่รู้ความเสี่ยงแล้ว = รับผิดชอบร่วมกัน 55555555

ก่อนจะแยกย้ายพี่เปี๊ยกก็โยน Keyword ให้ไปศึกษาต่อด้วยครับ ซึ่งถ้าใครสนใจ Deep Dive ต่อก็แนะนำ Keyword “Neuromarketing” กับ”Consumer Neuroscience” เลยครับ และถ้าอยากหา Pocket Book เกี่ยวกับเรื่องนี้อ่านไว ๆ สามารถไปดูกันได้ที่ https://imotions.com/ และถ้าสนใจในขาของ Business Experiments ก็แนะนำหนังสือ Testing Business Ideas ของ David Bland กับ Alexander Osterwalder ด้วยครับ

จบไปแล้ว นิลคิดว่านิลจะสรุปรู้เรื่องนะ วันนี้ลองสรุปแบบพี่ ๆ ที่บ.บ้าง แต่นิลยังช้ากว่าพี่ ๆ มากเลย จะค่อย ๆ ปรับปรุง Skill การสรุปตัวเองไปเรื่อย ๆ ครับ ถ้าใครสนใจงาน Meetup แบบนี้สามารถติดตามได้ที่เพจ UX Thailand ได้เลยคร้าบบ

Share: